|
Pra Somdej Wat Bang Khun Prohm Pim Sen Dai
Product:
00528
Price :1,000,000.00 baht
Detail:
Pra Somdej Bang Khun Prohm is one of the classic Pra Somdej amulets available and is along with Pra Somdej Wat Gaes Chaiyo perhaps the next in line to the Pra Somdej Wat Rakang amulet as far as popularity, beauty, sacredness of Puttapisek ceremony and price range.
Pra Somdej Bang Khun Prohm Kru Pra Chedi Yai (Large Chedi Kru amulets)
The Pra Somdej Bang Khun Prohm amulets classified as a Kru Pra Chedi Yai, have 9 different Pim Song, and were made in the period between 2411 and 2413 BE
These 9 Pim are; Pim Yai, Pim Sangkati, Pim Song Chedi, Pim Prok Po, Pim Gaes Bua Dtum, Pim Thaan Koo, Pim Sen Dai, Pim Ok Krut.
The Pra Somdej Bang Khun Prohm (Wat Mai Amataros) amulet.
Pra Somdej Wat Bang Khun Prohm Pim Sen Dai 3 of a kind
The above examples Of a Pra Somdej Bang Khun Prohm Pim Sen Dai (Kru Chedi Yai), are recommendable objects for reference study and comparison of the Muan Sarn content and Surface features.
The clay has condensed and hardened and become shiny like a domino, from passage of time and atmospheric changes. This results in a very smooth surface, which reveals the various characteristics, tonal qualities and markings as well as particles of Muan Sarn present which are in extreme visible evidence.
Ru Khem are visible in the rear faces of Pra Somdej Wat Bang Khun Prohm, as well as ‘Sanim Grapong’ – the red rust particles. The hardness of the amulet to the touch reveals its age. The downward curving lines of the lower double ‘Thaan Saem’ (split Dais model) are a perfect example of the features sought after in a reference model. The cracks are like deep crevices, showing the shrinkage factor of drying over long time periods. “Phiw Jantr’ – Moon surface.
Pra Somdej Bang Khun Prohm Nine Top Pim
Not all of the Pra Somdej Bang Khun Prohm were placed in the Kru, it took many years to create and press them and many would be in a receptacle in the Kuti and would be handed out by him during the time he created and empowered them. This explains the absence of Kraap Kru, as well as being purely logical and the most probable chain of events to have occurred. The Thaan Saem is one of the 5 Pim Song of Pra Somdej, which exist in both the Kru Wat Rakang and Kru Bang Khun Prohm amulets. Pra Somdej Wat Rakang have Five major category of Pim Song, whereas the Pra Somdej has four more Pim Song, making it nine major Pim in all.
History records that, in the year of the Dragon 2411, Samian Tra Duang Tongoses made restoration work Wat Bang Khun Prohm Nai (Wat Mai Amataros), and renewed the temple along with the building of a new Chedi Stupa, in order to place Pra Somdej amulets, which Samian Tra Duang invited Jao Prakhun Somdej Pra Puttajarn (Toh) Prohmrangsri, of Wat Rakang Kositaram to place there, as well as to empower. The amulets were made in the Somdej Traditional formula of 84,000 pieces (same as the number of suttas of the Pra Tammakhant).
สมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้าย
รหัสสินค้า
00528
ราคา :1,000,000.00 บ..
รายละเอียด
วัดบางขุนพรม หรือ วัดใหม่อมตรส
เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแต่ครั้งกรุงธนบุรี
เดิมชื่อวัดรามะตาราม
ต่อมาจึงได้เปลียนชื่อเป็นวัดใหม่อมตรส
แต่ชาวบ้านเรียกติดปากว่าวัดบางขุนพรม
สมัยก่อนวัดบางขุนพรมมีอานาเขตกว้างขวางแต่ต่อมามีการตัดถนนผ่านวัดจึงได้แยกออกเป็นสองวัด
คือวัดบางขุนพรมใน กับ
วัดบางขุนพรมนอกซึ่งก็คือวัดอินทรวิหาร
ของหลวงปู่ภู นั่นเอง ต่อมาในสมัย ร.3
ได้มีการปฏิสังขรโดย
พระองค์เจ้าอินทร์
แต่ก็เกิดมีกขถพระเจ้าเจ้าอนุวงศ์
เวียงจันทร์ พระเจ้าองค์อิน
ต้องเข้าร่วมวัดจึงถูกทิ้งให้ทุดโทรม
ในกาลต่อมา เสมียนตราด้วง(ต้นตระกูล
ธนโกเศศ)
ได้รับช่วงต่อในการบูรณะปฏิสังขรวัดต่อจากพระเจ้าอินทร์
ประกอบกับในขณะนั้นท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต
ได้มาพำนักที่วัดบางขุนพรมทำให้เป็นที่สัทธาของเจ้าบ้านในระแวกรวมถึง
เสมียนตราด้วงก็ด้วยเช่นกัน
ถึงแม้ในช่วงชีวิตของสมเด็จโตท่านไม่ได้พำนักอยู่ที่วัดบางขุนพรมตลอดแต่ก็ไปๆมาๆระหว่างวัดระฆังกับวัดบางขุนพรม
มูลเหตุสำคัญในการสร้างพระก็เพราะเสมียนตราด้วงมีความคิดที่จะสร้างพระสมเด็จบรรจุในเจดีเพื่อสืบทอดศาสนา
จึงได้ปรึกษากับสมเด็จเจ้าพระคุณและได้รับความเห็นชอบด้วย
จึงมีการแกะแม่พิมพ์ขึ้นทั้งหมด 10
พิมพ์มาตราฐาน 1 พิมพ์พิเศษ คือ
1พิมพ์ใหญ่ 2พิมพ์เส้นด้าย
3พิมพ์ฐานแซม 4พิมพ์ฐานคู่
5พิมพ์สังฆาฏิ 6พิมพ์เกศบัวตูม
7พิมพ์ทรงเจดี
8พิมพ์อกครุฑ(เซียนสมัยก่อนเรียกพิมพ์นี้ว่าพิมพ์ไกเซอ)
9พิมพ์ปรกโพธิ์ 10พิมพ์นอนไสยสาสน์
นอกจากนี้ยังมีอีกพิมพ์หนึ่งซึ่งเป็นพิมพ์พิเศษและหายากมาก
คือ พิมพ์ฐานสิงห์
ในการสร้างครั้งนั้นเป็นงานใหญ่มากเนื้องจากเป็นงานช้างจึงได้มีการเกณเอาชาวบ้านพระเณรมาช่วยกันตำมวลสารและกดพระ
ทำให้สมเด็จบางขุนพรมเป็นพระที่มีเนื่อหาแก่ปูนและพบมวลสารในเนื้อพระน้อยมากแทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้
ต่างจากสมเด็จวัดระฆังที่เป็นการสร้างแบบค่อยเป็นค่อยไป
มีการตำและผสมสวลสารมากทำพระออกมาหลายครั้งทำให้วัดระฆังมีเนื้อหามวลสารที่มากกว่า
สมเด็จวัดบางขุนพรมซึ่งทำแบบรีบเร่งในครั้งเดียว
ถึง 84,000 องค์
ทำให้พระจะแก่ปูนขาวเป็นส่วนใหญ่
หลังจากการสร้างเสร็จสิ้นแล้ว
เสมียนตราด้วงก็เรียนเชิญสมเด็จโตท่านทำการปลุกเศกและบรรจุพระลงในเจดีใหญ่บางขุนพรม
โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าสมเด็จบางขุนพรมเป็นพระที่ไม่ไกลเกินฝันของคนรักพระสมเด็จจริงๆเมื่อเปรียบเทียบกับสมเด็จวัดระฆังแล้วท่านมีโอกาศเป็นเจ้าของบางขุนพรมมากกว่าอีกหลายเท่านัก
และเราถูกปลูกฝังความเชื่อที่ผิดๆว่า
“
อย่าไปหาเลยสมเด็จบางขุนพรมตอนเปิดกรุมีแค่
สองพันกว่าองค์เองนอกนั้นเป็นพระหักหมด
จะไปหาที่ใหน”
คำพูดนี้เป็นความจริงครับแต่ก็ไม่ถูกต้อง100%
เพราะอะไรเดี๋ยวท่านก็จะเข้าใจต่อจากที่ผมจะเล่าให้ฟังดังนี้
ก่อนที่จะมีการเปิดกรุพระสมเด็จอย่างเป็นทางการในปี
พศ 2500 นั้น
นากคำบอกเล่าของเจ้าอาวาสและพระลูกวัดบางขุนพรมชุดก่อน
ปี 2500นั้น ได้เล่าให้ฟังว่า
มีการลักลอบขุดเจดีและขโมยพระสมเด็จ
ครั้งแรก เมื่อ พศ 2425
จนถึงเปิดกรุปี 2500
ในครั้งนั้นใช้วิธีการต่างๆ
และวิธีที่ hot hit
ที่สุดคือการตกเบ็ด
การตกเบ็ดพระสมเด็จนั้นมีอยู่ 2
วิธีด้วยกัน คือ 1.ตกด้วยดินเหนียว
คือการนำดินเหนียวมาปั่นเป็นลูกกลมๆ
ผูกติดกับเชือกเบ็ดแล้วหย่อนลงใปในช่องระบายอากาศของเจดี
วิธีที่2 คือการนำเอาตุ๊กแก
มามัดหางกับเชือกเบ็ดแล้วย่อนลงใปในชองลมตีนต๊กแกจะเหนียวและติดพระขึ้นมา
วิธีนี้เป็นวิธีที่ทำให้พระเสียหายน้อยที่สุด
การตกเบ็ดในครั้งนั้นพระที่ออกมาจะสวยงามมีคลาบกรุน้อย
เราจึงเรียกว่ากรุเก่า
การขโมยพระสมเด็จมีมานานแต่การขโมยครั้งใหญ่นั้น
มีขึ้นในปี พศ 2500 ก่อนเปิดกรุ
บอกเล่าโดย พระพิสุวงษ์ สุธรรมโม
ในคืนวันนั้นเป็นวันที่ฝนตกไม่แรงมากมีนักเลงพระ
ทางภาคเหนือ
ร่วมกับเพื่อนลักขุดที่ใต้ฐานพระเจดีพอตัวมุดเข้าไปได้
ขนพระขึ้นมามากมายหลายสิบถุง
คิดว่าเกินหมื่นองค์ จนหิ้วไม่ใหว
ประกอบกับกลัวเจ้าหน้าที่บ้านเมืองมาพบ
ก็มีบางส่วนถูกทิ้งไว้ข้าง
เจดีอยู่หลายถุง
ดังนั้นก็ไม่แปลกที่ท่านอาจจะพบเจอสมเด็จบางขุนพรมแถวภาคเหนือเพราะมีพระหลุดไปหลายหมื่นองค์เหมือนกัน
ส่วนพระที่ถูกทิ้งไว้
มีชาวบ้านในระแวกนั้น ชื่อ ธนา
เก็บพระสมเด็จที่คนร้ายได้ทิ้งเอาไว้
ขายต่อให้กับ นายเถกิงเดช คล่องบัญชี
ดังนั้นท่านจะเห็นว่า
ความเป็นจริงแล้ว
พระบางขุนพรมกรุเก่าที่มีการขโมยขุดมาตั่งแต่
2425 จนถึง 2500
มีจำนวนมากมายกว่าตอนที่เปิดกรุอย่างเป็นทางการเสียอีก
จะเรียกได้ว่า
ทางวัดมาขุดเป็นมือสุดท้ายก็ว่าได้
ดังนั้น ทางวัดจึงมีพระ
สวยสมบูรณ์ตอนออกจากรุนั้น แค่ 2950
องค์แค่นั้น นอกนั้นก็เป็นพระหักหมด
ดังนั้น หากนับระกรุเก่ากรุใหม่
รวมกันแล้วน่าจะมีสมเด็จบางขุนพรมที่มีอยู่พอเล่นหา
อย่างต่ำๆ ก็เกิน 10,000 องค์ขึ้นไป
จากทั้งหมด 84,000 องค์
ดังนั้นอย่าคิดว่ามีน้อย
เปิดกรุมีน้อยก็จริงแต่อย่าลืมก่อนหน้านั้นเขาขโมยขุดกันมาก่อนนะครับ
และอย่าคิดว่าคนเหนือไม่มีโอกาศมีสมเด็จบางขุนพรมแท้ๆ
เพราะท่านไปอยู่ภาคเหนือก็ไม่น้อยเหมือนกัน
ในครั้งที่เปิดกรุนั้น
ได้กระทำเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พศ
2500 โดยมี พลเอกประภาส จารุเสถียร
รองนายกและรัฐมลตรีมหาดทัย
เป็นประธานเปิดกรุ
มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร
มาเฝ้าตลอดการเปิดกรูโดยไม่อนุญาติให้บุคคลภายนอกมาเกียวข้องในการเปิดกรุอย่างเป็นทางการนี้
เริ่มกันตั่งแต่ เจ็ดโมง เช้า ถึง
ตอนเย็นเลยที่เดียว จากคำบอกเล่า
ในกรุมีสภาพร้อนมาก
ต้องเอาหลอดไฟและฟัดลมช่วยเป่า
พระที่ขุดได้ในครั้งนั้นเป็นพระที่มีคราบกรุจับอยู่หนาแน่นมาก
ส่วนมากเป็นพระหัก
นับพระที่สมบูรณ์ได้ แค่ 2950
องค์แค่นั้น หลังจากเปิดกรุแล้ว
ทางคณะกรรมการวัดจึงทำการประชุมเพื่อ
กำหนดราคาให้บูชา
โดยมีการเปิดให้บูชาในเดือนธันวาคม ปี
2500 โดยตั่งราคาดังต่อไปนี้
กลุ่มพิมพ์หายากมีน้อย
ได้แก่พิมพ์นอนไสยาสน์ มีขึ้นจากกรุ 3
องค์ บูชาองค์ละ 5000 บาท
พิมพ์ใหญ่,เกศบัวตูม,และปรกโพธิ์
สูงสุด 3500 รองลงมา 3000, 2500, 1500
ตามลำดับ
พิมพ์ทรงเจดี,ฐานแซม,และเส้นด้าย
สูงสุด 2200 รองลงมา 1500, 800
ตามลำดับ
พิมพ์ฐานคู่ และ สังฆาฎิ สูงสุด 2000
รองลงมา 1600,1200 และ 500 ตามลำดับ
พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร หรือพิมพ์ไกเซอ
สูงสุด 1400 รองลงมา 1200 , 800 และ
400 ตามลำดับ
หลักการพิจารณาพระสมเด็จ บางขุนพรม
มีหลักพื้นฐานเช่นเดียวกับพระกรุทั่วไปคือ
1, พิมพ์ทรงพระ การวางมือ วางแขน
เส้นซุ้ม พยายามจดจำทรงพระให้ดี
เพราะของเก๊นั้นเป็นการแกะแม่พิมพ์ขึ้นมาใหม่ยังไงก็ต้องมีจุดพิมพ์ที่ไม่เหมือนกับของแท้
แน่นอน หากพิมพ์ถูก
พระก็แท้ไปแล้วครึ่งหนึ่ง
2, คลาบกรุ
คลาบกรุหรือขี้กรุของสมเด็จบางขุนพรมนั้น
จะมีเอกลักณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร
คือสีจะออกไปในโซนสีน้ำตาลไหม้ หรือ
ที่เรียกว่าสีโอวันติน
คลาบกรุนี้จะติดแน่นหนามากยากต่อการขัดหรือถูออก
คลาบกรุมีความนุ่มนวลในตัวไม่หยาบกระด้างหรือหลุดออกได้ง่าย
3,
เนื้อพระเก่าสมอายุเป็นเนื้อแก่ปูนพบมวลสารน้อยมาก
หรือ ไม่พบเลย
หากพบว่าเป็นสมเด็จบางขุนพรมองค์ใดที่มีมวลสารมากจนเห็นได้ชัดโดยมากจะเป็นพระเก๊
4, การตัดขอบพระบางขุนพรมนั้นสำคัญมาก
ในการพิจารณา
ต้องดูให้ออกว่าเป็นการตัดด้วยมือเท่านั้น
ข้างมีลักษณะของการตัดแบบใช้มือโดยธรรมชาติ
หากเป็นการใช้เครื่องตัดพื้นด้านข้างตรงรอยตัดจะเรียบเท่ากันไปหมด
ให้เราสังเกตุให้ดี
และทั้งหมดนี้ก็คือ
ความเป็นไปเป็นมาของพระกรุบางขุนพรม
สมเด็จที่ไม่ไกลเกินฝัน
@--------------------- ขอบคุณครับ
---------------------@ ---------
เพื่อนๆท่านใดสนใจโทรติดต่อด่วนครับ
---------
--------------- พร บางระจัน
081-7842076 -----------------
|